Edwin B.Flippo กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง การจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆคือตัวบุคคลและหน้าที่การงาน เพื่อรวมกันเข้าเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ
สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้
ธงชัย สันติวงษ์ กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ คือ การจัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นกลุ่มก้อนเข้ารูปและการมอบหมายงานให้คนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้การจัดองค์การจะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบความรับผิดชอบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนต่างฝ่ายต่างทราบว่า ใครต้องทำอะไร และใครหรือกิจกรรมใดต้องสัมพันธ์กับฝ่ายอื่นๆอย่างไรบ้าง
สรุปได้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง
การจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานต่างๆ และบุคคลในองค์การ โดยกำหนดภารกิจ
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้งเพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีองค์การอาจแบ่งได้ 3 ทฤษฎี คือ
1.ทฤษฎีดั้งเดิม
วิวัฒนาการจากการปกครองแบบทหารจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ได้นักบริหารสร้างรูปแบบการบริหารในระบบราชการขึ้นและสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้การจัดการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไปนี้
ทฤษฎีสมัยใหม่เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากดั้งเดิม ทฤษฎีนี้มีหลักการว่า “
คนเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตขององค์การ”โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของคนที่ทำหน้าที่ร่วมกันในองค์การถือว่าองค์การประกอบไปด้วยบุคคลซึ่งทำงานโดยมีเป้าหมายร่วมกันและกลุ่มคนงานจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดผลผลิตด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อการกำหนดการผลิต
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน
ทฤษฎีนี้กล่าวว่าเป็นการศึกษารูปแบบขององค์การในปัจจุบันโดยเน้นที่การวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบ
กล่าวคือ นักทฤษฎีได้พิจารณาองค์การในลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด
ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การ
การศึกษาว่าองค์การเป็นระบบหนึ่งๆนั้นได้คำนึงถึงองค์ประกอบภายในองค์การทุกส่วน
ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อมการศึกษาองค์การในรูประบบนั้นได้พยายามที่จะมององค์การในลักษณะการเคลื่อนไหว
และปรับเข้ากับรูปแบบองค์การได้ในทุกสภาวะแวดล้อม
ทั้งนี้เพราะนักทฤษฎีปัจจุบันได้มององค์การในลักษณะกระบวนการทางด้านโครงสร้างที่บุคคลต่างๆ
จะต้องเกี่ยวพันซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการจึงมีการศึกษาพฤติกรรมองค์การในลักษณะใหม่ๆ เช่น พฤติกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การบริการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาองค์การ คิว.ซี. และการบริหารแบบอนาคตนิยม เป็นต้น
ประเภทขององค์การ
ในการแบ่งประเภทขององค์การนั้น
ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายขององค์การว่าเป็นอย่างไร
ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานที่แตกต่างกันโดยสามารถแบ่งประเภทขององค์การได้ดังนี้
องค์การเบื้องต้น เป็นองค์การที่สมาชิกมีความรู้สึกสนิทสนมกันดี
มีลักษณะเป็นครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนฝูง มีลักษณะที่ค่อนข้างไม่มีพิธีรีตอง
มีจุดมุ่งหมายเน้นไปที่ความสนุกสนาน
2.องค์การทุติยภูมิ
เป็นองค์การที่กำหนดบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในองค์การ
มีความสัมพันธ์ไม่แน่นแฟ้ม เป็นไปในลักษณะชั่วคราว มีลักษณะเป็น โรงงาน ร้านค้า
สมาคม สโมสร เป็นต้น
ขอบคุณ https://sites.google.com/site/rtech603xx/the-unit/iunit-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น