1. การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรความหมาย
การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร ข้อแตกต่างของคำว่า ประสิทธิผล กับ ประสิทธิภาพประสิทธิผล(Effectiveness) หมายถึง ความสำเร็จในการที่สามารถดำเนินกิจการก้าวหน้าไปและสามารถบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ที่องค์กรตั้งไว้
ประสิทธิภาพ (Effciency) หมายถึง การเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลที่ได้จากการทำงานว่าดีขึ้นอย่างไร แค่ไหน ในขณะที่กำลังทำงานตามเป้าหมายองค์กร วิธีการใช้ตัวเกณฑ์วัดประสิทธิภาพขององค์กร
1. เกณฑ์วัดผลตามเป้าหมาย
2. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพเชิงระบบ
3. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพโดยอาศัยกลยุทธ์ตามสภาพแวดล้อมเฉพาะส่วน
4. การใช้วิธีการแข่งขันคุณค่าการสร้างองค์กรแห่งคุณภาพ
การที่องค์กรจะไปสู่คุณภาพนั้น จำเป็นต้องปรับองค์กร โดยทั่วไปนิยมใช้ 3 วิธีคือ
1. การลดต้นทุน
2. การเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
3. การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
นิสัยแห่งคุณภาพมี 7 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. การทำงานเป็นทีม
3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4. การมุ่งที่กระบวนการ
5. การศึกษาและฝึกอบรม
6. ประกันคุณภาพ
7. การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วม
กลยุทธ์การบริหารเชิงคุณภาพ เป็นเพียงการนำเสนอดังนี้
1. วงจร PDCA หรือ PDCA
2. ระบบ 5 ส หรือ 5 S
3. กลุ่มระบบ QCC (Quality Contrl Circle:QCC)
4. ระบบการปรับรื้อ (Re-engineering)
5. ระบบ TQM (Total Quality Management)
2. องค์กรและการจัดการองค์กร
ความหมายขององค์กร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน ได้นิยามความหมายของ “องค์กร” ไว้ว่าองค์กรเป็นศูนย์รวมกิจกรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย ถ้าเป็นงานสาธารณะ เรียกว่า องค์กรบริหารส่วนราชการ ถ้าเป็นหน่วยงานเอกชน เรียกว่า องค์กรบริหารธุรกิจลักษณะขององค์กร องค์กรโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
ความหมายขององค์กร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน ได้นิยามความหมายของ “องค์กร” ไว้ว่าองค์กรเป็นศูนย์รวมกิจกรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย ถ้าเป็นงานสาธารณะ เรียกว่า องค์กรบริหารส่วนราชการ ถ้าเป็นหน่วยงานเอกชน เรียกว่า องค์กรบริหารธุรกิจลักษณะขององค์กร องค์กรโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. องค์กรทางสังคม
2. องค์กรทางราชการ
3. องค์กรเอกชน
3. พฤติกรรมในองค์กรพฤติกรรมในองค์กร
องค์กรจะสร้างรูปแบบของการดำเนินงาน ตลอดจนการปฎิบัติงานต่าง ๆ ขึ้น เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนของ สิ่งแวดล้อม และสภาวะที่เกิดจากการดำเนินงานของบุคคลและของกลุ่ม หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแบบเฉพาะในการดำเนินงานที่องค์กรสร้างขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการปรับองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันและกันได้การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ในองค์กร 3 ระดับ คือ
1. พฤติกรรมบุคคล (Individual Behavior)
2. พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior)
3. พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior)
ความพึงพอใจในการทำงาน หมายถึง สภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก และเจตคติของบุคคลที่มีต่องานที่เขาปฎิบัติอยู่ โดยแสดงออกมาเป็นความสนใจ กระตือรือร้น เต็มใจและสนุก ร่าเริง เป็นต้น เมื่อผู้ปฎิบัติงานเกิดความพึงพอใจในงานที่ทำ เขาก็จะมีความพยายาม อุตสาหะ มีความสุขในการทำงาน และความมุ่งมั่นจนงานนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์ความสำคัญของความพึงพอใจในการทำงาน วิธีการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลมี 3 วิธีการ คือ
1. วิธีการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Managerial Approach)
2. วิธีการมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Approach)
3. วิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Managemrnt)
4. การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร
กลยุทธิ์ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้การพัฒนาตนเองประสบผลสำเร็จ จึงขอเสนอหลักการเพิ่มเติม เพื่อการพัฒนาตนเองไปถึงจุดที่ควรจะเป็น และพยายามหาวิธีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยบุคคลจะต้องเรียนรู้ตัวเราให้ดีก่อน แล้วจึงนำความเข้าใจกับสิ่งที่เรารู้ จากตัวบุคคลจาสิ่งที่ตัวเราที่แท้จริงก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้เราสามารถมองเห็นข้อบกพร่อง แล้วจึงยึดหลักเพื่อปฏิบัติตนเอง เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินชีวิตดังนี้การเป็นผู้มีจิตใจสงบการเป็นผู้มีจิตใจเบิกบานความเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นต่อความยากลำบากเป็นผู้ตรงต่อเวลา ความเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองความเป็นผู้ละเอียดรอบคอบการเป็นคนขยันขันแข็งความเป็นผู้เชื่อถือของผู้อื่นการสร้างทีมงานความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับปัจจัยการทำงานเป็นทีม ภารกิจสำเร็จของนักบริหารจัดการคือ การพยายามทำความเข้าใจกับส่วนประกอบของทีมงาน การกำหนดวัตถุประสงค์ของทีมงานให้ชัดจน และการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายขององค์กรนักบริหารจะต้องไม่ลืมความสัมพันธ์ลักษณะระหว่างคุณลักษณะของการทำงานเป็น กับความสำเร็จงานบนพื้นฐานง่ายๆ ดังนี้
การสร้างทีมงาน
1. การสร้างทีมงาน (Team-Building)
2. การทำงานป็นทีม(Team- Wok)
5. บุคลิกภาพแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ มาจากคำบาลี 2 คำ คือ บุคลิก กับ ภาวหรือภาพ เมื่อนำมารวมกันหรือสมาสกันเป็น บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Personality แปลว่า ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะไม่ตรงกันนอกจากนี้ นักจิตวิทยาได้ให้ความหมายบุคลิกภาพไว้หลายทัศนะด้วยกัน เช่นบุคลิกภาพ คือ ผลรวมของพันธุกรรม และประสบการณ์ทั้งหมดของบุคคลบุคลิกภาพ คือ ลักษณะรวมของบุคคล และวิธีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งกำหนดการปรับตัวตามแบบฉบับของแต่ละบุคคลต่องสิ่งแวดล้อมบุคลิกภาพ คือ กระบวนการสร้างหรือการจัดส่วนประกอบของแต่ละคน ทั้งภายในและภายนอก (จิตใจและร่างกาย) ซึ่งบุคลิกภาพนี้จะทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนด ตัดสินพิจารณาลักษณะพฤติกรรม และความนึกคิดของบุคคลนั้นสรุป บุคลิกภาพ คือ ลักษณะพิเศษเฉพาะของบุคคลแต่ละบุคคล อันทำให้บุคคลนั้นแตกต่างจากบุคคลอื่น ๆ บุคลิกภาพประกอบด้วยรูปสมบัติและคุณสมบัติองค์ประกอบของบุคลิกภาพบุคลิกภาพ ประกอบไปด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ลักษณะท่าทาง
2. ลักษณะทางใจ
3. ลักษณะทางสังคม
4. ลักษณะทางอารมณ์ลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพที่ดีบุคลิกภาพที่ดี
6. กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ในองค์กรด้วยการสร้างบรรยากาศในการทำงานความหมายของกลยุทธ์ในองค์กร กลยุทธ์ขององค์กร หมายถึง การที่องค์กรได้แสดงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีการริหารที่องค์กรไปเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่มีกลุ่มต่าง ๆ ตัวบุคคล องค์กรอื่นและสถาบันประเภทอื่นทั้งหลายที่อยู่ภายในองค์กรและนอกองค์กรการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพมีเรื่องที่สำคัญที่ต้องพิจารณา 2 ประการคือ
ประการแรก ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงลักษณะสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
ประการที่สอง ผู้บริหารต้องเข้าใจว่า องค์กรสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมอย่างไร โดยพิจารณาในแง่ของการพิจารณาปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ตามความหมายของพฤติกรรมองค์กรการจัดชุดของทรัพยากรที่จะใช้งานในองค์กร ในการจัดชุดทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหาร องค์กรจะมีวิธีการจัดที่แตกต่างกันออกไป โดยทรัพยากรต่าง ๆ สามารถที่จะนำมาพลิกแพลงและจัดทำขึ้นเพื่อสนองต่อแผนงานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปสุดแต่ความเหมาะสม
7. การสื่อสารในองค์กรความหมายของการสื่อสารในองค์กร
การสื่อสารในองค์กร หมายถึง กระบวนการในการแลกเปลี่ยนข่าวสารของหน่วยงานกับบุคลากรทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งมีความสัมพันธ์กันภายใต้สภาพแวดล้อม บรรยากาศขององค์กร และสังคม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถาณการณ์กระบวนการสื่อสารการสื่อสารให้เป็นระบบแล้ว คงจะช่วยให้เข้าใจการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ กระบวนการสื่อสารประกอบด้วยแหล่งข้อมูล คือ แหล่งที่มาของงข้อมูลข่าวสาร หรือเป็นต้นตอของแหล่งข้อมูลข่าวสารนั่นเอง
ข่าวสาร คือ เนื้อหาสาระที่ต้องส่งไปผู้ส่ง คือ บุคคลที่จะเป็นผู้ดำเนินการส่งข่าวสาร
ผู้รับ คือ ผู้เป็นเป้าหมายในการรับข่าวสาร ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการสื่อสารประเภทของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในองค์กรสื่อหรือช่องทาง ใช้เพื่อให้ข่าวสารนั้นไหลหรือถูกพาไปยังผู้รับสาร พอจะแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้ประเภทการใช้ภาษา ได้แก่ การพูด คำพูด ซึ่งการใช้ภาษานับว่าเป็นการสื่อสารที่ใช้กันมากประเภทไม่ใช้ภาษา ได้แก่ สัญลักษณ์ การเขียนข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายต่างๆ เป็นต้นประเภทอาศัยการแสดง/พฤติกรรมรูปแบบของการสื่อสาร การสื่อสารโดยทั่วๆ ไปแล้ว สามารถแยกรูปแบบออกได้ดังนี้การสื่อสารภายในตัวบุคคลการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ แบบนี้ไม่มีให้เห็นมากนัก แต่ก็มีบางงานใช้การสื่อสารภายในองค์กรการสื่อสารมวลชนลักษณะการสื่อสารในองค์กร ลักษณะการสื่อสารในองค์กร โดยทั่วๆไปจะมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างพนักงานต่อพนักงาน หรือระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้น
ขอขอบคุณ : https://sites.google.com/site/project30000102/home/neuxha
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น